|
รศ.นพ.
พลภัทร โรจน์นครินทร์
(Assoc.Prof. Ponlapat
Rojnuckarin)
-
ตำแหน่ง
-
สาขาวิชา โลหิตวิทยา
-
วุฒิการศึกษา
- M.D.
(Chulalongkorn)
- Diplomat Thai
Board of Internal Medcine
- Diplomat Thai
Board of Hematology
- Ph.D.
(University of Washington, USA)
-
ที่ทำงาน
สาขาโลหิตวิทยา
ภาควิชาอายุรศาสตร์์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Division
of Hematology, Department of Medicine, Faculty of Medicine,
Chulalongkorn University Tel 02 2564564 Ext 104 Fax 02 2539466
-
Email:
fmedprn@md2.md.chula.ac.th,
porpiasod@hotmail.com
|
 |
ผลงานวิจัยโดยสรุป
ภาวะงูพิษกัดยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย และ
อีกหลายประเทศในโลก งูเขียวหางไหม้เป็นงูพิษที่มีผลต่อระบบโลหิต
ทำให้ผู้ถูกกัดเกิดเลือดออก และ ทำให้บริเวณที่ถูกกัดมีอาการ ปวด บวม
และ อาจมีเนื้อเน่าตายได้ กลุ่มวิจัยของเราได้ศึกษา
อาการทางคลินิคและค้นพบปัจจัยที่ใช้พยากรณ์โรค ได้แก่
การมีเลือดไม่แข็งตัวร่วมกับเกร็ดเลือดต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก
และ การถูกกัดที่นิ้ว หรือ มีถุงน้ำ (Blister)
เกิดที่ผิวหนังจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อเน่าตาย (gangrene)
และเราได้ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับระดับของพิษงูในกระแสเลือด
ทำให้เข้าใจพยาธิสภาพของโรคได้มากขึ้น
กล่าวคือฤทธิ์ที่สำคัญที่สุดของพิษงูในร่างกาย คือ ผลที่คล้ายธรอมบิน
(thrombin-like effect) ที่ค่อยๆตัดย่อย fibrinogen ในร่างกายอย่างช้าๆ
จนอาจทำให้เกิดเลือดออกภายหลังถูกกัดได้หลายวัน
นอกจากนี้เราได้ทำการศึกษาทางคลินิค แบบสุ่มและปกปิดทั้งสองฝ่าย
(Randomized double blind placebo-controlled trial) พบว่า
การใช้เซรุ่มต้านพิษงู
สามารถลดอาการบวมของแผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
แต่ไม่อาจเพียงพอทางคลินิค และพบอีกว่า
เซรุ่มไม่สามารถป้องกันการเกิดเนื้อเน่าตายบริเวณแผลได้
ขณะนี้เราจึงกำลังศึกษาค้นคว้าหาการรักษาผลเฉพาะที่ของพิษงูต่อไป
โดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา
พิษงูประกอบด้วยโปรตีนมากมายหลายชนิดมีหน้าที่ต่างๆกัน
ทั้งต่อการแข็งตัวของเลือด การละลายลิ่มเลือด
การเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด การแพร่กระจายของโรคมะเร็ง และ
พิษต่อเนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดอาการบวม และ เนื้อเน่า
กลุ่มเราได้ค้นพบว่าพิษงูเขียวหางไหม้
มีฤทธิ์กระตุ้นการละลายลิ่มเลือดในร่างกายคนซึ่งสารนี้อาจนำมาใช้รักษาโรคหลอดเลือดอุดตันในอนาคต
นอกจากนี้กลุ่มวิจัยของเราได้โคลนยีนส์ใหม่ของโปรตีนพิษงูเหล่านี้
จากห้องสมุด cDNA ของต่อมพิษงู เพื่อสร้าง recombinant protein จาก
ยีสต์มาศึกษาคุณสมบัติต่างๆ
ซึ่งจะทำให้เรารู้ถึงพยาธิกำเนิดของภาวะงูเขียวหางไหม้กัดได้ลึกซึ้งถึงระดับโมเลกุล
และนำไปสู่การสร้างแอนติบอดี้ หรือสารต้านต่อโปรตีนเหล่านี้
ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยและรักษาภาวะงูพิษกัด
ยิ่งไปกว่านั้นโปรตีนเหล่านี้ยังอาจนำมาใช้ป้องกัน และ
รักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน หรือ โรคมะเร็งในอนาคต
โดยการที่เรามียีนส์ของโปรตีนเหล่านี้อยู่
จะทำให้เราสามารถตัดต่อยีนส์เพื่อปรับปรุงให้โปรตีนนี้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการได้
(protein engineering) นอกจากนี้
กลุ่มวิจัยของเรายังได้ใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา เพื่อศึกษา
พยาธิกำเนิดของโรคโลหิตวิทยาอื่นๆ เช่น
การพบการกลายพันธุ์ใหม่ของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย,
การศึกษาการกลายพันธุ์อันเป็นจุดกำเนิดของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด
follicular,
การพบการกลายพันธุ์ใหม่ของโรคพันธุกรรมที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันง่าย
เช่น ภาวะขาดโปรตีน S ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ศึกษามาก่อนในคนไทย
อันจะนำไปสู่การพัฒนาการวินิจฉัย และรักษาที่ดียิ่งๆขึ้นไป
Biography and Research Summary
Venomous snakebite is an important public health problem in Thailand
and other tropical countries. Green pit viper venom is toxic to
hematologic system causing systemic bleeding, as well as local
tissue swelling and necrosis. Our group studied clinical
characteristics of patients and successfully identified the poor
prognostic factors that were the combination of clotting time and
thrombocytopenia associated with bleeding and digital bites as well
as presence of skin blisters predicting gangrene. In addition, we
analyzed plasma venom levels correlating with clinical and
laboratory variables and found that the strongest activity of the
venom was the thrombin-like effect. Our kinetic study revealed that
the venom progressively destroyed patient platelets and fibrinogen
explaining the relatively delayed coagulopathy after bites.
Furthermore, we conducted a randomized double blind
placebo-controlled trial demonstrating the modest efficacy of
antivenom on alleviating local tissue edema. However, we also found
that antivenom could not prevent skin necrosis. Therefore, the
optimal treatments of local effect of green pit viper are now being
investigated in our laboratory using molecular technology. Viper
venom comprises a wide variety of proteins affecting blood
coagulation, fibrinolysis, platelet functions, tumor metastasis and
local tissue damages. Our group has identified in vivo
profibrinolytic activity of the venom. This effect is potentially
useful for the treatment of thrombosis. Recently, we have cloned
several novel venom genes from cDNA library of green pit viper venom
glands and produced recombinant proteins using Pichia pastoris
system. This will give us deeper insights in molecular pathogenesis
of snakebites and may lead to novel therapeutic strategies, such as
antivenom to specific components or chemical inhibitors of the
venom. Furthermore, these proteins are potentially useful as new
diagnostic or therapeutic agents for thrombotic disorders or cancer.
With the cDNA in our hands, recombinant products can be engineered
for desirable effects. Besides venom research, our groups are using
molecular technique to explore pathogenesis several hematologic
diseases, such as novel mutations in thalassemia, chromosomal
translocation in follicular lymphoma and mutations in a natural
anticoagulant (protein S) gene. These have never been studied in
Thai population and the results may lead to better diagnosis and
treatments of these diseases.
Selected 10 international
publications
-
Rojnuckarin P, Settapiboon R,
Vanichsetakul P, Sueblinvong T, Sutcharitchan P. Severe b0
Thalassemia/Hemoglobin E disease caused by de novo 22-base pair
(bp) duplication in the paternal allele of b globin gene. Am J
Hematol (in press)
-
Rojnuckarin P, Chanthawibun W,
Noiphrom J, Pakmanee N, Intragumtornchai T. A randomized, double
blind, placebo-controlled trial of antivenom for local effects
of green pit viper bites. Trans R Trop Med Hyg 2006; 100 (9):
879-84
-
Rojnuckarin P,
Wattanabunyongcharoen P, Akkawat B, Intragumtornchai T. The role
of pulse dexamethasone in acquired idiopathic thrombotic
thrombocytopenic purpura. J Thromb Haemost 2006; 4(5): 1148-50.
-
Rojnuckarin P, Muanpasitporn C,
Chanhome L, Arpijuntarangkoon J, Intragumtornchai T. Molecular
Cloning of Novel Serine proteases and Phospholipases A2 from
Green pit viper (Trimeresurus albolabris) venom gland cDNA
library. Toxicon 2006 Mar; 47(3): 279-87.
-
Rojnuckarin P, Miyakawa Y, Fox NE,
Deou J, Daum G, Kaushansky K. The roles of PI3K and PKC{zeta}
for thrombopoietin-induced MAP kinase activation in primary
murine megakaryocytes. J Biol Chem. 2001 Nov 2; 276(44):
41014-22.
-
Rojnuckarin P. and Kaushansky K.
Actin reorganization and proplatelet formation in murine
megakaryocytes: the role of protein kinase Ca. Blood 2001 Jan 1;
97(1):154-61.
-
Rojnuckarin P, Miyakawa Y, Habib T,
Kaushansky K. Thrombopoietin induces PI3K activation through
SHP2, Gab and IRS proteins in BaF3 cells and primary murine
megakaryocytes. J Biol Chem 2001 Jan 26; 276(4): 2494-502.
-
Rojnuckarin P, Drachman JG,
Kaushansky K. Thrombopoietin-induced activation of the mitogen-activated
protein kinase (MAPK) pathway in normal megakaryocytes: role in
endomitosis. Blood 1999 Aug 15; 94(4): 1273-82
-
Rojnuckarin P, Intragumtornchai T,
Sattapiboon R, Muanpasitporn C, Pakmanee N, Khow O, Swasdikul D.
The effects of green pit viper (Trimeresurus albolabris and
Trimeresurus macrops) venom on the fibrinolytic system in human.
Toxicon 1999 May; 37(5): 743-55
-
Rojnuckarin P, Mahasandana S,
Intragumthornchai T, Sutcharitchan P, Swasdikul D. Prognostic
factors of green pit viper bites. Am J Trop Med Hyg 1998 Jan;
58(1): 22-5
|
|
|
|