ผลงานวิจัยโดยสรุป (ย้อนหลัง 5 ปี)

 

                      ศึกษาบทบาทต่อพันธุกรรมของมะเร็งและการแก่ของเซลล์ของหมู่ของมะเร็งและการแก่ของเซลล์หมู่เมลทิลโดยเฉพาะที่ดินเอเบสซ้ำ หรือทรานโปซอนของมนุษย์ ค้นพบลักษณะเฉพาะของหมู่เมททิล และการฉีกขาดของดีเอ็นเอ การค้นพบนี้น่าจะนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ในการทำงานของยีน การกลายพันธุ์ของจีโนม การเกิดมะเร็ง และการแก่ของเซลล์ ความรู้นี้เป็นกุญแจสำคัญสู่แนวทางใหม่ในการวินิจฉัยและรักษาโรคอีกด้วย

                      นอกจากนี้ทางศูนย์ได้พัฒนาโปรแกรมทางชีวสารสนเทศ ชื่อ connection up- or down-regulation expression analysis by microarrays หรือ CU-DREAM ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญในการให้โอกาสนักวิจัยทั่วโลกในทุกระดับสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนิสิแพทย์ในการฝึกหัดทำวิจัยและเรียนรู้ชีววิทยาในระดับโมเลกุลของโรคต่างๆ

                      ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา (๒๕๔๙-๒๕๕๓) ศูนย์วิจัยตีพิมพ์ผลงาน ๑๗ เรื่อง โดยเป็นผลงานในประเทศและมีผู้วิจัยหลักเป็นบุคลากรของศูนย์ทั้งหมด จำนวน ๒๔ เรื่อง มีค่า impact factor รวม เท่ากับ ๘๙.๑๑๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓ ทางศูนย์ได้รับการอ้างอิงรวม ๒๘๘ ครั้ง นับถึงจนปัจจุบันผลงานวิจัยของหัวหน้าศูนย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการอ้างอิงรวม ๑,๐๖๓ ครั้ง ผลงานวิจัยของศูนย์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดคือ Chalitchagorn, K et al. Distinctive pattern of LINE-1 methylation level in normal tissues and the association with carcinogenesis. Oncogene 23, 8841-6 (2004). โดยได้รับการอ้างอิงรวม ๙๓, ๙๙ และ ๑๐๘ ครั้ง จากฐานข้อมูล ISI, Scorpus และ google scholar ตามลำดับ