.ดร.นพ.สิทธิพร  แอกทอง
     (Assist. Prof. Sithiporn Agthong)

  •  ตำแหน่ง
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • สาขาวิชา ประสาทกายวิภาคศาสตร์
  • วุฒิการศึกษา พ.บ. (จุฬา) , Ph.D. (Manchestr,UK)
  • ที่ทำงาน หน่วยปฏิบัติการวิจัยเส้นประสาท ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์    มหาวิทยาลัย  โทร 0-2256-4281  โทรสาร 0-2252-7028
  • Email: fmedsat@md.chula.ac.th

 

หัวข้อการทำวิจัยl

1.        การศึกษาทางอณูชีววิทยาของระบบประสาทส่วนปลายหลังการบาดเจ็บ            

เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ signaling pathway ในเซลล์ประสาทและเซลล์ค้ำจุนของระบบประสาทส่วนปลายที่ตอบสนองต่อการบาดเจ็บ  ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นถึงกลไกระดับโมเลกุลของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะ axonal degeneration และ regeneration และนำไปสู่การพัฒนาวิธีการเร่งการซ่อมแซมเส้นประสาทที่ได้รับบาดเจ็บ โดยใช้เทคนิคทาง molecular biology ร่วมกับ histological analysis

2.        การพัฒนาวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์สำหรับการซ่อมแซมเส้นประสาท

เนื่องจากในเส้นประสาทที่ขาดบางกรณีจำเป็นต้องใช้เส้นประสาทอื่นในตัวผู้ป่วยมาเย็บซ่อมแซม ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ทำให้มีการพัฒนาวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นประสาทที่เป็น graft ดังกล่าว  โดยผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาและทดสอบวัสดุต่างๆ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งการทดสอบมีทั้งระดับ in vitro (cell culture) และ in vivo (animal model) โดยใช้เทคนิคทาง molecular biology ร่วมกับ morphological analysis

3.        การศึกษาทางอณูชีววิทยาของเส้นประสาทเสื่อมจากยาต้านมะเร็ง

ยาต้านมะเร็งบางชนิด เช่น paclitaxel มีผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ความผิดปกติของเส้นประสาท ซึ่งกระทบต่อการให้ยารักษามะเร็ง ดังนั้นผู้วิจัยร่วมกับ ศ.ดร.พญ.วิไล ชินธเนศ จึงได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลของเซลล์ประสาทและเซลล์ค้ำจุนของระบบประสาทส่วนปลายในสัตว์ทดลองหลังจากได้ยาต้านมะเร็งเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และพัฒนาเป็นวิธีการรักษาภาวะแทรกซ้อนนี้ต่อไปโดยใช้เทคนิคทาง neurophysiology ร่วมกับ molecular biology และ histological analysis